เมนู

ยอดด้วน โดยนัยที่กล่าวแล้วอย่างนั้น ชื่อว่า เป็นอันพระองค์ทรงทำไม่ให้มี
ในภายหลัง คือทรงทำโดยอาการที่รูปาทิรสเป็นต้นเหล่านั้น จะมีในภายหลัง
ไม่ได้, ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสว่า อนภาวํ กตา (กระทำไม่ให้ในภายหลาย).

[อรรถาธิบายศัพท์ อนภาวํ กตา-อนภาวํ คตา]


ในบทว่า อนภาวํ กตา นี้ ตัดบทดังนี้ คือ อนุ อภาวํ กตา
เชื่อมบทเป็น อนภาวํ กตา แปลว่า ทำไม่ให้มีในภายหลัง. ปาฐะว่า
อนภาวํ คตา ดังนี้ก็มี. ความแห่งปาฐะนั้นว่า ถึงแล้วซึ่งความไม่มีใน
ภายหลัง. ในบทว่า อนภาวํ คตา นั้น ตัดบทดังนี้ คือ อนุ อภาวํ คตา
เชื่อมบทเป็น อนภาวํ คตา แปลว่า ถึงแล้วซึ่งความไม่มีในภายหลัง
เหมือนการตัดบทในประโยชน์ว่า อนุอจฺฉริยา เชื่อมบทเป็น อนจฺฉริยา
แปลว่า พระคาถาเหล่านี้มีความอัศจรรย์ในภายหลัง แจ่มแจ้งแล้วแต่พระผู้มี
พระภาคเจ้า*.
สองบทว่า อายตึ อนุปฺปาทธมฺมา แปลว่า มีอันไม่เกิดขึ้นใน
อนาคตเป็นสภาพ. จริงอยู่ รูปรสเป็นต้นเหล่าใด ที่ถึงความไม่มีแล้ว รูปรส
เป็นต้นเหล่านั้น จักเกิดขึ้นได้อย่างไรเล่า ? เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัส
ว่า ถึงแล้วซึ่งความไม่มีในภายหลัง มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป.
หลายบทว่า อยํ โข พฺราหฺมณ ปริยาโย ความว่า ดูก่อนพราหมณ์ !
บุคคลกล่าวหาเราอยู่ว่า พระสมณโคดม เป็นคนไม่มีรส ดังนี้ ชื่อว่าพึงพูดถูก
ด้วยเหตุใด, เหตุนี้ มีอยู่จริง ๆ .
หลายบทว่า โน จ โข ยํ ตฺวํ สนฺธาย วเทสิ ความว่า ก็แล
เหตุที่กล่าวมุ่งหมายเอากะเราไม่มี.
* ที่. มหา. 10 / 41. วิ. มหา. 4 / 8

ถามว่า เพราะเหตุใด พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสอย่างนั้น ? เมื่อ
พระองค์ตรัสอย่างนั้น ย่อมเป็นอันทรงรับรองความที่สามัคคีรส ซึ่งพราหมณ์
กล่าวนั้นมีอยู่ในพระองค์มิใช่หรือ ?
ข้าพเจ้าจะกล่าวเฉลยต่อไป : - สามัคคีรสที่พราหมณ์กล่าวหามีไม่.
แท้จริง ผู้ใด เป็นผู้ควรเพื่อทำสามัคคีรสนั้น แต่ไม่ทำ, ผู้นั้น พึงเป็นผู้
ถูกกล่าวหาว่า เป็นคนมีรูปไม่มีรส เพราะไม่มีการทำสามัคคีรสนั้น. ส่วน
พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ควรเพื่อทรงทำสามัคคีรสนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้า เมื่อจะทรงประกาศข้อความที่พระองค์เป็นผู้ไม่ควร ในการทำ
สามัคคีรสนั้น จึงได้ตรัสว่า โน จ โข ยํ ตฺวํ สนธาย วเทสิ อธิบายว่า
ท่านมุ่งหมายถึงเหตุอันใด จึงกล่าวกะเราว่า เป็นคนไม่มีรส เหตุอันนั้น
ท่านไม่ควรพูดในเราเลย.

[เวรัญชพราหมณ์กล่าวหาพระพุทธเจ้าเป็นผู้ไร้โภคะ]


พราหมณ์ ไม่สามารถจะยกความที่พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นคนไม่มีรส
(ขึ้นข้อนขอด) ตามที่ตนประสงค์อย่างนั้น จึงกล่าวคำอื่นต่อไปอีกว่า พระ-
โคดม ผู้เจริญ เป็นผู้ไร้โภคะ.
อนึ่ง บัณฑิตครั้นทราบลำดับโยชนา โดยนัยดังกล่าวแล้วนั้นแหละ
ในปริยายทั้งปวงในพระบาลีนี้ ก็ควรทราบใจความตามที่พราหมณ์มุ่งกล่าวไว้
โดยนัยดังจะกล่าวต่อไปนี้ : -
พราหมณ์ สำคัญสามีจิกรรมมีการกราบไหว้เหล่าชนผู้เจริญวัยเป็นต้น
นั้นนั่นแลว่า เป็นสามัคคีบริโภคในโลก จึงได้กล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
เป็นผู้รู้โภคะ เพราะความไม่มีสามีจิกรรม มีการกราบไหว้เป็นต้นนั้น.